วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2552

บทพระราชนิพนธ์ เรื่องท้าวแสนปม

ในลักษณ์นั้นว่าน่าประหลาด

เป็นเชื้อชาตินักรบกลั่นกล้า

เหตุไฉนย่อท้อรอรา

ฤาจะกล้าแต่เพียงวาที

เห็นแก้วแวววับที่จับจิต

ไยไม่คิดอาจเอื้อมให้ถึงที่

เมื่อไม่เอื้อมจะได้อย่างไรมี

อันมณีฤาจะโลดไปถึงมือ

อันของสูงแม้ปองต้องจิต

ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้ฤา

มิใช่ของตลาดที่อาจซื้อ

ฤาแย่งยื้อถือได้โดยไม่ยอม

ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง

คงชวดดวงบุปผาชาติสะอาดหอม

ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินดอม

จึ่งได้ออมอบกลิ่นสุมาลี

บทพระราชนิพนธ์ เรื่องท้าวแสนปม
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯ รัชกาลที่ 6










บทพระราชนิพนธ์ เรื่องท้าวแสนปม


บทเพลง ของเรื่องท้าวแสนปมบทนี้นั้น จะเกี่ยวการที่ผู้ชายคนหนึ่งแอบรักผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้หญิงก็ชอบชายผู้นี้ แต่บทกลอนนี้จะเป็นการประชดถึงความขี้ขลาดของผู้ชายคนนี้ ที่ไม่ยอม และไม่กล้ามาจีบผู้หญิงจริงๆ ทั้งๆที่ผู้หญิงเป็นผู้สูงศักดิ์


เริ่มต้นกลอนก็บอกว่า ถึงจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่แต่ก็ไม่กล้ามาหา บทแรกนี้ เป็น การประชดประชันเสียดสี ขัดแย้งระหวังฐานะกับความกลัว ถึงเป็นนักรบแต่ก็ยังกลัว เป็นกลวิธีของผู้แต่งโดยใช้ ความตรงกันข้ามนำมาเปรียบเทียบ ร้อยออกมาจนเป็นคำประชดประชัน ความหมายของกลอนนี้มีความกำกวมแต่ก็เข้าใจง่าย เพราะผู้แต่ง สื่อความหมายโดยการเปรียบเทียบ ไม่ใช้การซ่อนความหมาย ข้าพเจ้าคิดว่า กลอนนี้ นอกจากเป็นการประชดประชัน จะมีความผิดหวังด้วย พระผู้หญิงเหมือนกำลังสอน ปนบ่นไปพร้อมๆกัน ผ่านบทกลอน เช่น ประโยคที่ว่า เมื่อไม่เอื้อมจะได้อย่างไรมีอันมณีฤาจะโลดไปถึงมือ คล้ายกับว่า สอนผู้ชาย และหวังว่าผู้ชายจะเข้ามาหาผู้หญิงไม่ใช้จะอยากได้นางเป็นเพียงอย่างเดียว กลวิธีนี้ เป็นการ (paradox) เราสามารถรู้ได้จากมุมมอง และทัศนะ ของผู้แต่งว่ามุมมองของเขาเป็นอย่างไร ซึ่งคิดว่า เป็นการ ประชดประชัด รัก ชอบ สอน และ หวัง รวมๆกับไป


ที่เห็นได้ชัดจากบทกลอนบทเหล่านี้คือ การที่ มีคำว่า จะ ซ้ำกันอยู่สามครั้ง เป็นการให้ภาพพจน์ของความที่ใกล้แค่เอื้อมแต่ก็ยังไม่ถึง บวกกับเสียงของ จ ที่เป็นการกระแทกแสดงให้เห็นถึงความผิดหวังของผู้หญิงคนนี้ด้วย รวมกับ คำบางคำเป็นการเปรียบเทียบด้วยผู้หญิงเอง กับสิ่งที่สูงส่งยศของตัวเองเช่น กับแก้วแวววับ แสดงไห้เห็นถึงว่า ตนมีค่า หากอยากได้จะต้องขวนขวาย และ เป็นการเปรียบคนเป็นสิ่งของ ซึ่งทำให้ผู้อ่านเห็นภาพและเข้าใจชัดกับการที่จะใช้สิ่งของเสียมากกว่า นอกจากเปรียบตัวผู้หญิงเองกับของสูงส่ง ก็เปรียบตัวเองกับ สิ่งต่ำต้อยเช่น กับตลาด ซึ่งเห็นได้ชัดถึงความประชัดประชัด ทั้งนี้ทั้งนั้น ทำให้เกิดความดุดันรุนแรง กับการประชดประชันด้วย ซึ่งทำให้ผู้อ่านบางคนที่เป็นผู้หญิงสะใจก็ไปด้วย ก็เป็นไปได้ การสัมผัสในของกลอนเช่น คำว่ายื้อ กับถือนั้น ช่วยทำให้กลอนไหลลื่นอย่างสวยงามต่อเนื่อง


หากปลอกเปลือกของกลอนนี้แล้ว เนื้อหาที่แท้จริงก็คือ อยากให้ผู้ชาย มาจีบผู้หญิง ไม่อยากให้กลัวหรืออาย ในอีกทางหนึ่ง กลอนนี้ก็สอนให้ผุ้ชายว่า ถ้าหากรักหรือชอบใครซักคน ไม่ควรจะแอบรักเพียงอย่างเดียว เพราะเราไม่รู้ว่า เขาจะมีความรู้สึกเดียวกับเราหรือไม่ ก็เหมือนกับว่า หากถ้าเราไม่สอยมะม่วง เราจะรู้ได้ไงว่ามะม่วงนั้นเป็นของดี หรือ เสียแล้ว

4 ความคิดเห็น:

  1. ชอบบทพระราชนิพนธ์นี่มาตั้งแต่เด็กๆ เพราะมีปู้มาใส่ทำนอง ขออภัย ที่ยังไม่ได้ไปค้นชื่อผู้ให้ทำนอง แต่เป็นเพลงที่ไพเราะมากร้องตามได้ตั้งแต่จำความได้เหมือนกัน มาทราบทีหลังว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ ร6 พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงพระปรีชาสามารถในหลายด้าน รวมทั้งด้านวรรณกรรม ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง

    ตอบลบ
  2. ของตลาด หมายความว่าอะไร?

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. หมายความว่าของที่หาได้ทั่วๆไป

      ลบ
  3. ดอกไม้ร่วง หมายถึงอะไร

    ตอบลบ